ปลาหางนกยูง (Guppy) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Poecilia reticulata ใน
วงศ์ปลาสอด (Poeciliidae)
เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5
นิ้ว
มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด
กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า
ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า
มีการกระจายพันธุ์บริเวณ
ทวีปอเมริกากลางจนถึง
อเมริกาใต้
อาศัยอยู่ในแหล่ง
น้ำจืดจนถึง
น้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ
เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้ง
พืชและ
สัตว์น้ำ
รวมถึง
แมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม
ใน
ประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ 5
โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่าง
บัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก
มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำ
และเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว
ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้
ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ
อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่
ปฏิสนธิภายในตัว
และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้ว
จะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่
จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว
โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3
เดือนขึ้นไป
ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลาย
รวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก
มีหลายสายพันธุ์ เช่น
ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น
จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้
กระทรวงสาธารณสุข
ได้รณรงค์ให้
คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่
น้ำใน
บ้านเพื่อกินลูกน้ำ
และ
ยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน
ปลาหางนกยูงได้กลายเป็น
ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว
มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย
ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลาย
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน